Home

สั่งซื้อสินค้า

สูตรยารักษาเบาหวาน

ฟังรายการวิทยุเรื่องโรคเบาหวาน

 
 

าเหตุของโรคเบาหวานพอจำแนกคร่าวๆได้ดังนี้

   
  1. เกิดจากทางพันธุกรรม   และผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน

แต่จะพบโดยบังเอิญ เช่น พบขณะตรวจร่างกายประจำปี   หรือมีอาการเกิดโรคติดเชื้อ เช่นเป็นฝีโดยไม่ทราบสาเหตุ  อยู่ๆก็เกิดขึ้นมา

 
  2. เกิดในคนอ้วน   เพราะมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าคนผอม
 
  3. กิดจากความเสื่อมของตับอ่อน
 
  4. อายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น
 
 

เจียวกู้หลานผสมอบเชยสกัด

 

โรคเบาหวานมี 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1   พบน้อยมากมีประมาณ 5 % ของผู้ป่วยทั้งหมด   มักพบในเด็ก   ลักษณะของเด็กจะผอม   โรคเบาหวานชนิดนี้จะรุนแรง   ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลินอย่างเดียว    กินยาเม็ดไม่ได้ผล    สาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันตับอ่อนบกพร่อง  ตับอ่อนถูกทำลาย  ทำให้สร้างสารอินซูลินได้ไม่เพียงพอ  ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นกว่าปกติและเป็นเบาหวาน

ประเภทที่ 2  พบได้ประมาณ 95% ของผู้ป่วยส่วนมาก  พบในผู้ใหญ่ ตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงสูงอายุ  จัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งถ่ายทอดทางยีนจากพ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย   พบในคนที่มีอายุมากกว่า  45 ปี ขึ้นไป   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานคือ  ความอ้วน   ซึ่งมักจะเกิดตอนอายุมากขึ้น   อาจเกิดจากกินมากไป  ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อยไป ในระยะหลังมีรายงานว่าโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยลงกว่าเมื่อก่อนกระทั่งในเด็ก และวัยรุ่นก็พบได้

โรคเบาหวานคืออะไร

  ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน คือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และเหตุใดน้ำตาลในเลือด

ถึงสูงกว่าปกติคำตอบก็คือ  เกิดจากตับอ่อนผลิตสารอินซูลินได้น้อยหรืออาจไม่ได้เลย

   
  สารอินซูลินคืออะไร    สารอินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในร่างกายนำไป

ใช้เป็นพลังงาน    และถ้าตับอ่อนผลิตสารอินซูลินได้น้อย หรือผลิตไม่ได้เลย   น้ำตาลก็จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือด  ตรงจุดนี้คือสาเหตุของโรคเบาหวาน

   
  น้ำตาลในร่างกายได้มาอย่างไร   คำตอบก็คือ   ได้มาจากอาหารที่เราบริโภคเข้าไป   ในคนปกติก่อน

รับประทานอาหารเช้า จะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก. แต่หลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชม. ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน140 มก.%   การวินิจฉัยจะทำได้โดยการเจาะเลือดเท่านั้น

   
  โรคเบาหวานคือโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง สามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานต้องใช้

ยาควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในภาวะปกติไปตลอดชีวิต     ถ้าหยุดใช้ยาควบคุมเมื่อไหร่    น้ำตาลก็จะสูงขึ้นและถ้าสูงจนอยู่ในภาวะวิกฤติ    อาจทำให้ถึงแก่กรรมได้

   
  ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานถ้าเกิดภาวะน้ำตาลสูงมากกว่า 180 มก.%  ให้สังเกตว่าในช่วงเวลา

ตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยมากเกิน 1  ครั้ง เนื่องจากน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะ   ในบางรายพบว่าปัสสาวะจะมีมดเข้ามาตอม  เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าเกิดภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูง  ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการรักษา 

อาการและรคที่พบในโรคเบาหวาน

  1. ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อย หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง

  2. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน

  3. ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร

  4. สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน

  5. มีอาการชาตามแขนและขา

  6. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  7. โรคหลอดเลือดหัวใจ

  8. โรคหลอดเลือดสมอง

  9. โรคความดันโลหิตสูง

  10. ทำให้เกิดโรคไต

  11. เป็นแผลหายช้า

 
  1.ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะปัสสาวะมากขึ้นและบ่อย หิวน้ำบ่อย  เนื่องจากน้ำตาลถูกขับออกทาง

ปัสสาวะ ร่างกายมักจะอ่อนเพลียขาดน้ำ   เนื่องจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน

 
  2. มีผู้ป่วยบางรายไม่ยอมใช้ยาควบคุมน้ำตาล แต่จะใช้วิธีควบคุมอาหาร  ซึ่งส่วนใหญ่จะ

ล้มเหลว สังเกตได้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะกินอาหารเก่งแต่กลับไม่อ้วน ในทางตรงกันข้าม น้ำหนักตัวกลับลดลง  รูปร่างจะผอมลงจนมองดูผิดตา และผู้ป่วยมักจะเข้าใจผิดคิดเอาเองว่า  ที่ผอมลงเพราะเกิดจากคุมอาหาร 

 
   ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด   เพราะที่ผอมลงนั้นเกิดจากร่างกายไม่สามารถนำเอาน้ำตาล

ไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน    และเมื่อร่างกายขาดพลังงานร่างกายก็เลยไปเอาพลังงานจากแหล่งอื่น   เช่นจากไขมันในร่างกาย   และจากโปรตีนตามกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำตาล  ตรงจุดนี้คือสาเหตุที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลง ร่างกายผอมลงผิดปกติ  และในที่สุดก็จะมีโรคแทรกตามมา

 
  3. ผิวหนังจะแห้งมีอาการคัน และมักจะเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

และถ้าเป็นแผลก็จะหายช้า

 
  4. มีตาพร่ามัว เช่น สายตาสั้น เกิดต้อกระจก   เรียกว่าเบาหวานเข้าตา ทำให้ตาบอดได้
 
  5. มีอาการชาตามแขนและขาไม่รู้สึกเจ็บและมักจะเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เนื่องจากอาการชาทำให้

ไม่มีความรู้สึกเจ็บ   บางรายอาจมีอาเจียน

 
  6. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงอยู่นาน ทำให้ระบบเส้นประสาทเสื่อม   ขาดความรู้สึกทางเพศ
 
  7. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการ

เสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด

 
  แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย

 กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก เบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก

 
   การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน

คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

 
  8. โรคหลอดเลือดสมอง ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง

เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า

 
  โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็น

ครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง

 
  9. โรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ภาวะความ

ดันโลหิตสูง  ทำให้หลอดเลือดเสื่อม  เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น  ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว  ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย  พบว่ากว่า 35 - 73 % ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตได้สูง กรณีที่เส้นเลือดในสมองแตก ปัจจุบันพบบ่อยมาก

 
  10. ทำให้เกิดโรคไต อันเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่หลอดเลือดเล็กที่เรียกว่า  Microvacular  อันเป็นสาเหตุ

ทำให้เกิดโรคไต  เนื่องจากไตทำงานหนักเพราะไตต้องทำหน้าที่ขับน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือด  และในที่สุดก็จะเกิดภาวะไตวาย ต้องได้รับการฟอกไตทุกสัปดาห์

 
  11. เป็นแผลหายช้า เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) หากหลอด

เลือดเล็กๆที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation (หมายถึงการตัดแขนขาในที่สุด)

 
  ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณร้อยละ 15% จะเกิดแผลที่เท้าร้อยละ 14-24 % ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะ

ต้องถูกตัดขาอายุที่เกิดมักจะเกิน 65 ปี ขึ้นไป

   และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เท้าคือคนที่ปัจจัยเสี่ยง ดังกล่าวข้างต้นคือ  เกิดจากภาวะแทรก

ซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)  เป็นสัญญาณที่เตือนว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า            

 
 

 
 

ขอคำปรึกษา 096-890-3983