ทำไมถึงแนะนำให้ใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน

 

ในผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

 

      คำตอบคือ ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานมีอยู่ 2 ชนิดคือ ชนิดยาเม็ด กับชนิดยาฉีด แต่ถ้าเราจะเพิ่มสมุนไพรเข้าไปอีก 1 ชนิด ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้  เพราะก่อนที่จะมียาแผนปัจจุบัน บรรพบุรุษมีการใช้สมุนไพรกันมานานกว่า 2,000 ปี แล้ว

       เป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ในการรักษาโรคร้ายต่างๆ มากมาย ซึ่งในบรรดาโรคร้ายๆ ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ในสมัยนั้นก็น่าจะมี โรคเบาหวาน รวมอยู่ด้วย

       ปัจจุบันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานโดยการให้ยาควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ด้วยยาเม็ดหรือยาฉีดอินซูลินแต่เพียงอย่างเดียว 

       เพราะเมื่อให้ยาไปนานๆ ผู้ป่วยจะดื้อยาที่ให้  ไม่สามารถใช้ยาดังกล่าวควบคุมอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป  และในที่สุดผู้ป่วยก็จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคเบาหวาน 

      ผู้ป่วยจะมีโรคแทรกตามมา เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต ร่วมถึงการเป็นอัมพาต และในบางรายเป็นแผลรักษาไม่หาย  โดยเฉเพาะพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณร้อยละ 15% จะเกิดแผลที่เท้า

       และร้อยละ 14-24 % ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะถูกตัดขาเนื่องจากแผลรักษาไม่หาย ส่วนมากจะมีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป โดยมปัจจัยเสี่ยง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เป็นสัญญาณที่เตือนว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้าเป็นแผลเน่าและนำไปสู่  Amputation (หมายถึงการตัดแขนขาในที่สุด)

        ด้วยเหตุผลนี้แนวคิดในการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โดยการให้ยาเม็ดหรือยาฉีดอินซูลินแต่เพียงอย่างเดียวได้เปลี่ยนไป   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้แนะนำให้ผู้ป่วยรู้จัก การใช้แพทย์ทางเลือก ประกอบในการรักษาและพบว่า

        สมุนไพรช่วยให้การใช้ยาแผนปัจจุบันลดลง และในบางรายที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน พบว่าสมุนไพรสามารถช่วยให้การใช้ปริมาณของยาฉีดลดลง จนถึงขั้นเลิกใช้ กลับมากินยาเม็ดเหมือนเดิม  และที่สำคัญยังพบว่าในตัวของสมุนไพรยังมีสารสำคัญทางยาที่ปกป้องซ่อมสร้างร่างกาย ไม่ให้เกิดภาวะดื้อยา ปกป้องและช่วยรักษาอาการของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้  เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื่อรัง รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกหลายชนิด

        ปัจจุบันการใช้สมุนไพรรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน  เป็นการรักษา   2 ทางที่เรียกว่า Complementary treatment  หมายถึงการรักษา ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบัน  ควบคู่ไปกับแพทย์ทางเลือก Alternative  medicine  โดยจะใช้สูตรสมุนไพร 4 ชนิด ในการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน แบ่งสูตรยาออกเป็น สูตรยาหลัก และยารองดังนี้
 

สูตรยาสมุนไพรเบาหวาน  " พิกัดเบาหวานทั้ง 3 "

 

ประกอบด้วยตัวยาสมุนไพร 3 ตำรับ

 

 
 
1. สูตรยาหลัก   จะใช้แคปซูลเจียวกู้หลานผสมอบเชยแบบสกัดเป็นยาหลัก
 

โดยรับประทานวันละ 2 เวลา เช้า  1 เม็ด  เย็น 1 เม็ด เป็นมาตรฐานเริ่มต้นก่อนหลังจากที่ใช้ไปผู้ใช้ต้องสังเกตด้วยตนเองว่าได้ผลหรือไม่  ในโรคเบาหวานผู้ใช้ควรมีเครื่องตรวจวัดน้ำตาลไว้ประจำตัว  เพื่อตรวจวัดค่าน้ำตาลว่าสูงหรือต่ำ

 
การตรวจวัดน้ำตาล
 

สมัยนี้เขาจะตรวจวัดน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ช.ม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน140 มก.%  จะได้ค่าที่แม่นยำที่สุดไม่จำเป็นต้องอดอาหาร 8 ช.ม แบบเก่า

 
  การใช้สมุนไพรให้ได้ผล ผู้ใช้ต้องปรับขนาดการกินยาให้ตรงกับระบบธาตุของตนเองจึงจะได้ผลดี

สาตุที่กินยาไม่ได้ผลเกิดจากผู้ใช้ไม่ได้ปรับขนาดการกินให้ตรงกับ  ขนาดของโรค และต้องให้ตรงกับระบบธาตุของตนเอง  เพราะในคนแต่ละคนจะมีระบบธาตุไม่เท่ากัน บางคนธาตุหนัก ต้องกินยามากเม็ดจึงจะได้ผล แต่ในบางคนธาตุเบา กินยาเล็กน้อยก็ได้ผล

 

ลักษณะอย่านี้ในทางแผนปัจจุบันเขาเรียกว่าความไวของยา( Sensitivity of the drug ) ในแต่ละคน

จะไม่เท่ากัน เช่น บางคนปวดหัว กินยาแก้ปวดหัวแค่ 1 เม็ดก็หายปวดได้  แต่ในบางคนอาจต้องกิน 2-3 เม็ดจึงจะหายปวด  การกินยาสมุนไพรก็เช่นกัน ผู้ป่วยต้องปรับยาให้ตรงกับขนาดของโรคและระบบธาตุของตนเองหรือความไวของยาของตนเอง  ซึ่งในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน หากไม่เข้าใจควรปรึกษาแพทย์หรือผู้รู้จะช่วยให้การใช้ยาได้ผลดีและปลอดภัย คลิกอ่านข้อมูล

 
 

 
2. สูตรยารอง ตัวที่ 1 จะใช้แคปซูลผักขึ้นฉ่ายแบบสกัดเป็นยารองตัวที่1
 
การใช้ยารองเข้ารวมกับยาหลัก  เป็นการใช้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการให้เชื่อว่า

ควรใช้  หรือจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน  ไม่ได้มีปัญหาที่น้ำตาลในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว  แต่ยังมีโรคแทรกตามมาอีกหลายชนิด  โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง  ที่อาจนำไปสู่เส้นเลือดในสมองแตกถึงแก่กรรม  หรือไม่ก็กลายเป็นอัมพฤต อัมพาต เป็นภาระให้แก่ญาติไปตลอดชีวิต

แคปซูลผักขึ้นฉ่าย ฝรั่งเรียก Celery ใช้ลดความดันโลหิตสูงกันอย่างแพร่หลาย

ชาวเอเชียรู้จักใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันมาประมาณ 2000 ปี ชาวจีน ชาว

เวียดนามแนะนำให้รับประทานขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความปลอดภัยสูง

 

การับประทานวันละ 2 เวลา เช้า  1 เม็ด  เย็น 1 เม็ด เป็นมาตรฐานเริ่มต้นก่อน   หลังจากที่ใช้ไปผู้ใช้

ต้องสังเกตด้วยตนเองว่าได้ผลหรือไม่  ในโรคเบาหวานผู้ใช้ควรมีเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตไว้ประจำตัว  เพื่อตรวจวัดค่าความดันของตนเองทุกวันว่าสูงหรือต่ำ  ถ้าสูงก็ต้องปรับขนาดยาตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น ( ข้อ 1 ) บางคนอาจต้องกินยา 2 เม็ดเช้าเย็น  หรือมากว่าจึงจะได้ผล  โดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างไร เพราะเป็นพืชผักที่กินกันมานานนับ 1,000 ปี  คลิกอ่านข้อมูล

 
 

 
3. สูตรยารอง ตัวที่ 2   จะใช้ยาเห็ดหลินจือสีดำสกัดเป็นยารองตัวที่ 2
 
การใช้ยารองเข้ารวมกับยาหลักตัวที่ 2  เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมักมี

โรคไตวายเรื่อรังเข้าแทรก  อันเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่หลอดเลือดเล็กที่เรียกว่า  Microvacular  อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไต  เนื่องจากไตทำงานหนักเพราะไตต้องทำหน้าที่ขับน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือด  และในที่สุดก็จะเกิดภาวะไตวาย ต้องได้รับการฟอกไตทุกสัปดาห์

การใช้เห็ดหลินจือสายพันธุ์สีดำเข้ารวมรักษา ก็เป็นการช่วยลดภาวะการเป็น

โรคไตของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานได้  มีผู้ป่วยโรคไตเป็นจำนวนมากนำไปใช้ได้ผลจริงตามรายงานการศึกษาและวิจัย โดยแพทย์จุฬาได้ศึกษาไว้ ระบุสรรพคุณสร้าง

สมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน  เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต  รักษาโรคไตวายเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ  ทีมวิจัยค้นคว้ารักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง  เนฟโฟรสิส  ชนิด focal  segmental  sclerosis  ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน  เช่น  สเตียรอยด์  โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือ  วันละ  750-1,000  มิลลิกรัม ควบคู่กับการใช้ยาขยายหลอดเลือดพบว่าช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น  อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน  ซึ่งเป็นการรักษา 2 ทางที่เรียกว่า Complementary treatment  หมายถึงการรักษา ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบัน  ควบคู่ไปกับแพทย์ทางเลือก Alternative  medicine  ดังกล่าวไว้ข้างต้น

 

ปริมาณของสารจากเห็ดหลินจือที่ใช้ในการรักษาได้นั้นจะอยู่ประมาณ 750-1,000 mg ต่อวัน

 ก็ประมาณวันละ 1-2 แคปซูล ก่อนอาหาร เช้าเย็น เป็นมาตรฐานเริ่มต้นก่อน ( 1 แคปซูล ๆละ 510 mg )

 

การใช้สามารถปรับขนาดเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้  ตามอาการของโรคที่เป็นอยู่หรือ ความไวของยาในแต่

ละคนที่ไม่เท่ากัน ดังกล่าวไว้ข้างต้นเช่นกัน คลิกอ่านข้อมูลโรคไตในเบาหวาน

 
 

สูตรยาสมุนไพร "พิกัดเบาหวานทั้ง 3 "

 
 
 

     

หน้าต่อไป

 

ขอคำปรึกษา 096-890-3983