ชนิดน้ำชงดื่ม

 

สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

 
 

 

 
 
 

ชนิดแคปซูลสกัด

 

ยาแคปซูลสมุนไพร

แก้ปวดเมื่อย

 

ขวดใหญ่

 

บรรจุ 750 มล./ml

 

ราคา 1,400  บาท  

 

ลด 20% คงเหลือ 1,200 บาท

 

ขวดเล็ก

 

บรรจุ 510 มล./ml

 

ราคา 1,000  บาท 

 

ลด 20% คงเหลือ 800 บาท

 

อย.10-1-10150-1-0001

 
 

งกับน้ำร้อน หรือ น้ำเย็นก็ได้

ดื่มได้ทุกวันรสชาติอร่อย กลิ่นหอมไม่มีรสขม

 

สรรพคุณโบราณ แก้ปวดเมื่อย ถาใช้คลายเส้นแก้กษัยเส้น , แก้เส้นเอ็นขอด,ทำให้เส้นอ่อน, ขับปัสสาวะ, แก้ปวด. แก้หวัด, แก้ไข้

 

 

 

บรรจุ  100  แคปซูล

 

ราคา 1,000  บาท  

 

ลด 20% คงเหลือ 800 บาท

 

ทะเบียนยาเลขที่

 

G 264/52

 
 

ข้มูลทางวิทยาศาสตร์

 

มุนไพรเถาวัลย์เปรียง

 
 

 

 
 

ทางเลือกใหม่ สธ.วิจัยสำเร็จ ทำยารักษาโรคปวดหลัง

             กระดูกสันหลังของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ออกแบบมาอย่างงดงามลงตัวครับ แต่มักเกิดปัญหาจุกจิกกวนใจเสมอ คล้ายกับรถยนต์บางคันบางยี่ห้อ แม้ราคาแพงแต่อาจใช้งานได้จำกัด  เฉกเช่นเดียวกันเปรียบได้กับร่างกายของมนุษย์ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคนย่อมมีโอกาสเป็นโรคปวดหลัง อย่างน้อยสักครั้ง หรือ อาจจะปวดหลายๆครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้นหรือแม้กระทั่งหนุ่มสาว ซึ่งผู้ที่ทรมานกับอาการปวดหลังมักต้องการวิธีเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการความทรมานให้ทุเลาลง 
                

              หากจะอธิบายเป็นภาษาทางการแพทย์ โรคปวดหลังเป็นปัญหาที่ซับซ้อนครับ เนื่องจากทั้งอาการทางร่างกาย และปัญหาทางจิตใจมักปะปนกัน บางครั้งอาการปวดอาจรุนแรงถึงขั้นสุดแสนทรมาน  แต่บ่อยครั้งอาการปวดกลับหายไปเอง บางคนยอมรับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เพราะต้องการหายปวดโดยเร็ว แต่การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังเป็นวิธีรักษาที่อันตราย มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่เป็นผลกับทุกคน แต่ก็ยังมีวิธีรักษาวิธีใหม่ ซึ่งง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า สำหรับโรคที่เป็นปัญหามากที่สุดโรคหนึ่ง

             ซึ่งการแพทย์ทางเลือก  มีการแพทย์ทางเลือกและการรักษาแพทย์พื้นบ้านหลายวิธีที่ใช้ได้ผลดี นั่นคือ การจัดกระดูก จัดตำแหน่งข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกสันหลังให้เข้าที่ เป็นวิธีที่ปลอดภัย และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับ อีกวิธีคือ การนวดบำบัด และ การฝังเข็ม เป็นอีกวิธี ซึ่งเป็นที่นิยม ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิธีการรักษาซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร ที่กล่าวมาทั้งหมดคืออากรของคนปวดหลังและการเยียวยารักษา แต่สิ่งที่จะหยิบยกมาเล่านี้อาจจะเรียกว่าเป็นข่าวดี ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการบรรเทาโรคปวดหลัง

          เพราะเมื่อวานนี้ 20 พ.ค.2550 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เขาได้ออกมาเปิดเผยการศึกษา วิจัยค้นคว้า สกัดสารสำคัญ จากพืชสมุนไพร ซึ่งถือว่าในบ้านเรามีอยู่เป็นจำนวนมาก สมุนไพรที่ว่านั้นก็คือ “เถาวัลย์เปรียง” อาจะแปลกหูสักนิด แต่เขาวิจัยกันออกมาแล้วว่า เป็นยารักษาโรคปวดหลัง-ปวดตามข้อ ใช้แทนยาแก้อักเสบสเตียรอยด์  รักษาอาการปวดหลังได้ดีทีเดียว และขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยา อย พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การเภสัชกรรม ผลิตรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ

          นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอกว่า ถือเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์สำคัญของกรม ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในสมุนไพรหลายชนิด และทดลองสกัดในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และ จากการทดลองวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบว่าสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้ ซึ่งหลังจากที่ใช้เวลาทำการทดลองนานเกือบ 10 ปี ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งระยะที่ 1 และ 2 ให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยให้ยาแก่อาสาสมัครครั้งละ 1 แคปซูล (200 มก./ แคปซูล) หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง นาน 2 เดือน ร่างกายสามารถดูดซึมยานี้ได้ดี ไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียง ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายไดอีกด้วย  เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า “เถาวัลย์เปรียง”ให้คุณประโยชน์ได้อย่างมากมาย

          นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  หรือ อย. เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และ เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม ให้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นได้ประสานไปยังองค์การเภสัชกรรม หรือ อภ. เพื่อให้มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยให้โรงพยาบาลต่าง ๆ นำไปใช้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลังและตามข้อ หรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย

             ขณะนี้เถาวัลย์เปรียงได้นำจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันทีที่การวิจัยแล้วเสร็จ และในปี 2550 นี้ จะมีการผลิตออกมาเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา ทั้งนี้เถาวัลย์เปรียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่า แต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทยภายหลังจากที่ใช้เวลาศึกษาและทดลองนายหลายปี

            ละเมื่อ เดือน ก.ย 51นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง”
พบสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบสามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

           ขณะเดียวกัน ทางสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงเมื่อทำการทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูงนอกจากนี้ยังได้ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยแบ่งเป็น

     
    กลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบ Naproxen และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงก็พบว่าสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี และมีแนวโน้มว่าปลอดภัยกว่ายา Naproxenเพราะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Naproxen มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียดแน่นท้องในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการข้างเคียงดังกล่าว

         
ที่สำคัญคือเมื่อเปรียบเทียบราคาของแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียง 400มก.กับยาแก้อักเสบ NSAIDSพบว่าแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีราคาไม่เกิน 10 บาทส่วนยากลุ่ม NSAIDS ที่ระบุว่าไม่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมีราคาสูงกว่าประมาณ 4 ถึง 6 เท่า

     ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วและอยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การ-เภสัชกรรมในการสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้นำไปใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุเช่นในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลังและปวดตาม-ข้อหรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย” นพ.มานิตให้ข้อมูล

 

มาทำความรู้จักกับ “เถาวัลย์เปรียง”

 

           เถาวัลย์เปรียง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth. หรือที่รู้จัดในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสน ย่านเหมาะ มีลักษณะเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย รูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่องดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ดอง เหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง  

 

             สำหรับองค์ประกอบทางเคมีของลำต้นเถาวัลย์เปรียงเป็นกลุ่มไอโซฟลาโวน (isoflavone) ไอโซฟลาโวน กลัยโคซัยด์ (isoflavone glycoside) และ พรีนิลเลดเตดไอโซฟลาโวน (prenylated isoflavone)

 

งานวิจัยการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาวัลย์เปรียง

 

ฤทธิ์ต้านอักเสบในหลอดทดลอง

 

           สารสกัดด้วยน้ำลดการหลั่ง myeloperoxidase (88%) จาก rat peritoneal leukocytes ที่ถูกกระตุ้นด้วย calcium ionophore มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammation) โดยการยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (Eicosanoid)


          สารสำคัญที่พบในส่วนสกัดด้วยน้ำ ได้แก่ 7-O-a-rhamnol(1?6)-b-glucosylgenistein, genistein, 5,7,4’-trihydroxy-6,5’-diprenylisoflavone และ scandenin มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบโดยยับยั้ง Cyclooxygenase โดยมีค่า IC50 = 1500, 100, 3 และ 8 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ) และยับยั้ง 5- Lipooxygenase (IC50 = 2500, 80, 6 และ 1.6 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ)

Genistein และ scandenin ลดการหลั่ง Elastase myeloperoxidase จาก rat peritoneal leukocytes โดยมีค่า IC50 = 0.22 และ 0.14 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ

 

การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดหยาบของเถาวัลย์เปรียง

 

        ได้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50 % เอธานอล ในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ โดยป้อนสารสกัดขนาด 6, 60 และ 600 มิลลิกรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม/วัน หรือเทียบเท่าผงเถาวัลย์เปรียงแห้ง 0.03, 0.3 และ 3 กรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม/วัน หรือคิดเป็น 1, 10 และ 100 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนต่อวัน ติดต่อกันนาน 6 เดือน พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม หรือจุลพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารสกัด และไม่พบความผิดปกติใด ๆ ที่สามารถสรุปได้ว่ามีผลสืบเนื่องมาจากความเป็นพิษของสารสกัด

การทดสอบความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพด

       ได้ทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิผลเบื้องต้นของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อระบบภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครจำนวน 12 ราย โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50 % เอธานอล ครั้งละ 1 แคปซูล (200 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าทั้ง 12 ราย ไม่มีอาการข้างเคียง ใด ๆ ระหว่างรับประทานสารสกัด ค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของค่าปกติ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณของ IL-2, IL-4 และ IL-6 ในซีรั่มเพิ่มขึ้น จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงที่ขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันนาน 2 เดือน และสามารถเหนี่ยวนำให้มีการหลั่งของ IL-2, IL-4 และ IL-6 ที่อาจมีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพด

      ได้ศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 47 ราย โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50 % เอธานอล ครั้งละ 1 แคปซูล (200 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าไม่มีอาการข้างเคียงใด ๆ ระหว่างรับประทานสารสกัด ค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของค่าปกติ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณของ IL-2 และ ¡- IFN ในซีรั่มเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่า สารสกัดเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันนาน 2 เดือน และมีส่วนช่วยควบคุมและ/หรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การศึกษาสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง

      ทำการวิจัยที่คลินิกในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ทดลองในผู้ป่วย 70 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูล ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 7 วัน) 37 ราย และกลุ่มควบคุม (ได้รับยา diclofenac 25 มก. ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 7 วัน ) 33 ราย พบว่าทั้งสองกลุ่มระดับความรู้สึกปวดลดลงในวันที่ 3 และ 7 ของการรักษา และระดับความรู้สึกปวดของทั้งสองกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่าไม่แตกต่างกัน ทั้งก่อนเริ่มรักษา และระหว่างรักษา สำหรับผลข้างเคียงนั้นพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลนั้นมีค่าทางโลหิตวิทยา เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยกล่าวคือจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงในวันที่ 7 ของการให้ยา แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนค่าทางชีวเคมีไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ส่วนผู้ที่ได้รับยา diclofenac นั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมี

เอกสารอ้างอิง

 

1. ยุทธพงษ์ ศรีมงคล และคณะ, การเปรียบเทียบสรรพคุณของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงกับไดโคลฟีแนคเป็นยาบรรเทาอาการ
ปวดหลังส่วนล่าง, วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 5 เดือน มกราคม-เมษายน 2550 (ฉบับที่ 1) :
หน้า 17-22.
2.
ปราณี ชวลิตธำรง และคณะ, การทดสอบความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพดี(บทคัดย่อ),
รวมบทคัดย่องานวิจัยด้านสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทสปีด กราฟฟิคเฮาส์ จำกัด; 2550
3.
ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, อัญชลี จูฑะพุทธิ, สดุดี รัตนจรัสโรจน์ และ สมเกียรติ ปัญญามัง, การศึกษาพิษเรื้อรัง
ของสารสกัดหยาบของเถาวัลย์เปรียง (Derris scandens Benth.). ว. สงขลานครินทร์ วทท. 2542 21(4) : 425-433
4. Laupattarakasem P., Houghton P.J., Hoult J.R.S., Itharat A., An evaluation of the activity
related to inflammation of four plants used in Thailand to treat arthritis. J of Ethanopharmacology
2003 (85) : 207-215
5.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร ฉบับปรับปรุงใหม่. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่2


 

 
     
 

       ฟังเรื่องราวของสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง แล้วทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นเป็นกอง สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคปวดหลัง ปวดข้อ ปวดกระดูกตามร่างกาย  ซึ่งบางรายต้องพึ่งยาแก้ปวดประเภท สเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวด  แต่ผลข้างเคียงของสารสเตียรอยด์มีมากมาย เช่น ถ้าใช้ไปนานๆ อาจทำให้กระดูกผุได้

            ตามข่าว กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้บอกว่า สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ใช้แทนยาแก้อักเสบสเตียรอยด์ รักษาอาการปวดหลังได้ดี โดยไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงใดๆ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย

            เถาวัลย์เปรียงเป็นสารสกัดจากสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอาหารและยา หรือ อย. จัดเป็นอาหารประเภทเครื่องดื่มชนิดเข้มข้น ใช้ชงกับน้ำร้อนหรือน้ำเย็นได้ รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม ไม่มีรสขม สามารถใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะส่วนผสมของชาเถาวัลย์เปรียงใช้น้ำตาลฟรุกโตส ชนิด 99.98 %  สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆ ได้ทั่วไป รวมถึงยังใช้เพิ่มภูมิให้กับร่างกายได้อีกด้วย

            บริษัท เฟรช แอนด์ ไชน์ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเป็นรายแรกของเมืองไทย สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ ตัวแทนจำหน่าย หรือ ที่บริษัทฯ  โทร. 02 – 910-7072 – 4  หรือ 081-928-1050

 เวลา 9.30 น. – 18.00 น.  ตั้งแต่วันจันทร์ - เสาร์

 

 
 

สำรับท่านสั่งซื้อสินค้า 1 ชิ้น ท่านจะได้เป็นสมาชิก

 
     
 
 

 ได้รับส่วนลด 20% ทันที      คลิกสั่งซื้อสินค้า