Home

ติดต่อเรา

สินค้าของเรา

จุฬายอมรับเห็ดหลินจือรักษาโรคไต

 
 
 
 

โรคไต  คือความผิดปกติทางพยาธิสภาพ องไต ในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายคนเรา โรคไตมีหลายประเภทดังนี้

  • โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ

  • โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์

  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก

  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)

  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

 

 
 
ไตทำหน้าที่อะไร
   
  1. กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายและน้ำส่วนเกินทิ้ง ซึ่งทำให้เลือดสะอาด
 

2. ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย

 

4. รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้ปกติ

 

5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย

 

6. สร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น สารควบคุมความดันโลหิต,สารสร้างเม็ดเลือดแดง,สารทำให้ไม่เกิดภาวะ

 

    โลหิตจางและสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัสและแคลเซียมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

    ในเด็กจะช่วยให้เจริญเติบโตได้ ตามวัย

   
 
 
สาเหตุของโรคไต
  • เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น

  • เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)

  • เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น

  • เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น

  • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต
   
  1. อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไตย่อมเสื่อมตามธรรมชาติ เพระคนเรา อายุ 30 ปี ขึ้นไป ไตจะเสื่อมตาม
 

 

ธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปี 
 

2. วามดันโลหิตสูง

 

3. โรคหัวใจ  เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ

 

4. โรคหลอดเลือดสมอง

 

5. โรคเบาหวาน

 

6. โรคเก๊าท์

 

7. โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น   โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก   ไตอักเสบ เอส-แอล –อี   โรคไตเป็นถุงน้ำ

      นิ่ว  เนื้องอก  หลอดเลือดฝอยอักเสบ
 

8. มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต

 

9. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ

 

10.ใช้ยาแก้ปวด   หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

   
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต
   
  1. หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบว
 

2. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น   ขุ่น  เป็นฟอง  เป็นเลือด  สีชาแก่  คล้ายสีน้ำล้างเนื้อ

 

3. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น   ปัสสาวะบ่อย  แสบ ขัด  ปริมาณน้อย

 

4. ปวดหลัง  คลำได้ก้อน บริเวณไต

 

5. ความดันโลหิตสูง

 

6. ซีด อ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย  ไม่มีแรง  ไม่กระฉับกระเฉง

 

7. ท้องอืด   ท้องเฟ้อ   คลื่นไส้   อาเจียน

 

8. บื่ออาหาร   การรับรสอาหารเปลี่ยนไป

 

9. ปวดศีรษะ   นอนหลับไม่สนิท

   

อาการของไตเสื่อม 2 ประเภท

ปกติเมื่อคนเรา อายุ 30 ปี ขึ้นไป ไตจะเสื่อมตามธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปี สมารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. เสื่อมอย่างรวดเร็วหรือไตหยุดการทำงานทันที เรียกว่า โรคไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะกลับเป็นปกติได้ ถ้าได้การรักษาที่เหมาะสม

  2. สื่อมลงอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ไตเกิดความผิดปกติอย่างถาวร  เรียกว่า โรคไตวายเรื้อรัง

เมื่อไตเสื่อม อาการของรคไตแบ่งออกเป็น  5 ระยะ
 
 

ระยะที่1 จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ แต่ไตก็ยังคงทำงานได้ปรกติในระยะนี้ การดูแลรักษา  ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไต อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ,โรคเอสแอลอี (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) ,โรคเก๊าท์ ,นิ่วในไต ,ไตอักเสบ, การติดเชื้อปัสสาวะซ้ำ ๆ

ระยะที่ 2 ไตเริ่มทำงานลดลง 3 ใน 4 ส่วน หรือ 60-90% การดูแลรักษา ลดปริมาณอาหารที่มีรสเค็ม

ระยะที่ 3 ไตเริ่มทำงานลดลง 1 ใน 2 ส่วน หรือ 30-60% การดูแลรักษา  ลดอาหารจำพวกโปรตีน

ระยะที่ 4 ไตเริ่มทำงานลดลง 1 ใน 4 ส่วน หรือ 15-30% การดูแลรักษาจำกัดการบริโภคผลไม้ต่างๆ

ระยะที่ 5 เป็น "ระยะไตวาย" ซึ่งในระยะนี้ไตจะทำงานได้น้อยกว่า 15%
 

อาการของโรคไตวาย ชนิดเฉียบพลัน

      ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว   ภายในเวลาเป็นวัน  หรือสัปดาห์     มักมีอาการมากกว่าแบบวายเรื้อรัง    อัตราการเสียชีวิตสูง   ถ้าพ้นอันตราย  ไตมักจะเป็นปกติได้

 
อาการของโรคไตวาย ชนิดเรื่อรัง

      เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร   ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง     แม้อาการจะสงบ  แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม     และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด

      ปัจจุบันพบว่าสาตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  มีสาเหตุจาก

  1. อันดับหนึ่ง   โรคเบาหวาน

  2. อันดับสอง   ความดันโลหิตสูง  และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ  เช่น  โรค เอส- แอล – อี

  3. สาเหตุอื่น ๆ  ได้แก่ โรคนิ่วในไต,อักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ,โรคเก๊าส์,การกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ,โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

 สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้   มักทำให้เกิดโรคกับไตทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน

*******************************

 

เบาหวานกับโรคไต

โรคไตจากเบาหวาน

  1. เกิดจากผู้ที่เป็นเบาหวาน เป็นมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง  และหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง

  2. ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ

  3. โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี  ขึ้นไป

  4. ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน  ขา  ใบหน้า  และลำตัว เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต

  5. การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน คือความดันโลหิตสูงไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาว

  6. เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไตโดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN ) และคริเอตินิน   ( Creatinine )   จะสูงกว่าคนปกติ

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน

  1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  2. อาการบวม

  3. ไตอักเสบจากการติดเชื้อ

  4. ไตวายฉับพลัน

  5. ไตวายเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน 

        พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ  30 – 35 % จะเป็นโรคไต ดยมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตจาก พันธุกรรม, ระดับน้ำตาลสูง, ความดันโลหิตสูง, โปรตีนรั่วในปัสสาวะ, การสูบบุหรี่

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  เพื่อป้องกันโรคไต

  1. ตรวปัสสาวะ  เพื่อหาโปรตีนทุกปี

  2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ  หรือใกล้เคียงปกติ    เท่าที่สามารถทำได้

  3. รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยา  หรือ  สารที่เป็นอันตรายต่อไต    เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด   สารทึบรังสี

  5. สำรวจ และให้การรักษาโรค  หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ   เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  และเป็นโรคไต

  1. ตรวจปัสสาวะ และ เลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะ ๆ  

  2. กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน  และพบแพทย์ตามนัด

  3. งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์    ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด

  4. ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาอื่น ๆ    ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร

  5. เมื่อมีอาการบวม   ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง

  6. ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ  หรือ  ใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว

  7. ระวังอาหารที่มี  โคเลสเตอรอลสูง

  8. รับประทานผัก  และปลามากขึ้น

  9. ควรตรวจอวัยวะอื่น ๆ ด้วย   เช่น ตา หัวใจ ปอด

  10. สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด   ไม่มีแผลเรื้อรัง

  11. ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม     ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด

  12. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด

*****************************

ข้อแนะนำผู้ป่วยโรคไต

  1.  งดอาหารโคเลสเตอรอลสูง  เช่น อาหารทะเล ,เนื้อ – หมู ติดมัน ,กุ้ง ,หอย ,ทุเรียน และอื่นๆ

  2.  อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เช่น อาหารประเภทแป้ง , ของหวาน ,ผลไม้รสหวาน ,ครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์

  3. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว

*****************************

การรักษาผู้ป่วยโรคไต

  1. ผู้ป่วยโรคไตวาย ชนิดเฉียบพลัน

  2. ผู้ป่วยโรคไตวาย ชนิดเรื่อรัง

 

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง มี 4 วิธี ดังนี้

1. การรักษาด้วยยา และควบคุมน้ำ, อาหาร 

        วิธีนี้จะได้ผลในผู้ป่วย ที่ไม่ถึงระยะสุดท้ายของโรค   ยาที่ใช้ เช่น

  • ยาปรับดุลน้ำ เกลือ ภาวะกรดด่าง ยาจับฟอสเฟต ไม่ให้ถูกดูดซึมจากลำไส้ ยาทดแทนฮอร์โมนที่ไตสร้าง ฯลฯ ควรรับประทานยาอย่างเคร่งครัด ตามขนาดที่แพทย์สั่ง ไม่เปลี่ยนยาหรือซื้อยารับประทานเอง เพราะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • การควบคุมน้ำ ผู้ที่เป็นโรคไตวาย ไตจะขับน้ำปริมาณเท่าเดิมไม่ว่าจะได้รับน้ำมากหรือน้อย ทำให้เกิดน้ำคั่งอยู่ในตัว น้ำหนักตัวเพิ่ม เกิดอาการเป็นพิษจากน้ำ คือ ซึม ชักและหมดสติ

  • การให้น้ำปริมาณน้ำที่พอดีสำหรับผู้ป่วย (ต่อวัน) = ปริมาณปัสสาวะ(ต่อวัน) + 800 ซีซี.  (1 ขวดน้ำปลากลม)

  • การควบคุมเกลือโซเดียม เกลือโซเดียมคือเกลือที่ทำให้อาหารมีรสเค็ม ในผู้ที่บวมให้งดเติมเกลือในอาหาร (งดอาหารที่มีรสเค็ม) และงดอาหารที่มีเกลือสูง เช่น น้ำปลา เนยแข็ง เต้าหู้ยี้ แหนม ของหมักดอง ซอสทุกชนิด ไส้กรอก อาหารกระป๋อง ผงชูรส น้ำพริก อาหารยำทุกชนิด เป็นต้น

  •  การควบคุมเกลือโปแตสเซียม ผู้ป่วยที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 800 ซีซี..ต่อวัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียมสูง เช่นผลไม้ทุกชนิด สะตอ ถั่ว เครื่องในสัตว์ ผักสด และผักที่แช่แข็ง หอย มะขาม กาแฟ ช็อคโกแลต ฯลฯ เพราะปริมาณโปแตสเซียมคั่งในร่างกายจะเป็นอันตรายต่อหัวใจโดยตรง ทำให้เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

  • การควบคุมอาหารโปรตีน การกำจัดอาหารโปรตีนตั้งแต่ต้นจะช่วยชะลอการทำลายเนื้อไต ผู้ที่เป็นโรคไตวายต้องจำกัดอาหารโปรตีนเหลือ 40 กรัมต่อวัน และควรเลือกโปรตีนคุณค่าสูง เช่นโปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์ แต่ควรลดปริมาณลง ส่วนโปรตีนจากพืชมีคุณค่าน้อยกว่า ให้หลีกเลี่ยงการรับประทาน

    ตัวอย่างโปรตีนในอาหาร

    ไข่ไก่ 1 ฟอง มีโปรตีน 6-8 กรัม

    นมสด 1 ถ้วย มีโปรตีน 8 กรัม

    เนื้อสัตว์ 1 ขีด มีโปรตีน 23 กรัม เป็นต้น

  • การควบคุมน้ำและอาหารในผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ดังนั้นควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ผู้รักษา

2. การขจัดของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (ซี เอ พี ดี)

       โดยใช้เยื่อบุช่องท้องเป็นที่กรองของเสียในเลือดให้ออกมาในน้ำยาที่ใส่ไว้ในช่องท้อง ผู้ป่วยต้องมาผ่าตัดฝังท่อพลาสติกไว้ในช่องท้องเพื่อต่อกับถุงน้ำยาและต้องได้รับการฝึกสอนจากแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญเสียก่อน จึงสามารถนำไปปฏิบัติต่อที่บ้านได้

3. การฟอกเลือด (การทำไตเทียม)

       โดยใช้เครื่องฟอกเลือด เป็นตัวกรองของเสียในร่างกาย ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดเตรียมหลอดเลือด และมารับการฟอกเลือดในโรงพยาบาลตามกำหนดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ผู้ป่วยที่รักษาโดยการฟอกเลือดต้องจำกัดอาหารประเภทฟัก ผลไม้ และอาหารเค็มโดยเคร่งครัด ไม่สามารถรับประทานได้อย่างอิสระเหมือนผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีขจัดของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 

การเลือกวิธีการรักษามีความแตกต่างกัน แพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยดูจากอายุ พื้นฐานของโรค, ลักษณะหลอดเลือด, สภาพจิตใจและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ

4.  การปลูกถ่ายไต  

       คือ  การนำไตจากผู้บริจาค (ที่เสียชีวิตแล้ว, หรือยังมีชีวิตอยู่ เช่น จากพี่น้อง พ่อแม่) มาผ่าตัดใส่ให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ซึ่งแพทย์ที่รักษาจะต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด คัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมและเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจก่อนทำการผ่าตัด หลังทำผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานไปตลอดระยะเวลาที่ไตยังอยู่ในร่างกาย

วิธีการรักษา 3 วิธีหลังนี้ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ทำการรักษาด้วยวิธีที่ 1 ไม่ได้ผลแล้ว

บทสรุป

       โรคไตก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เชื่อว่าน่าจะมีมานานมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง  ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ในสมัยนั้น  เราจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันแม้นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะพิสูจน์ได้แล้วว่าโรคไตเป็นอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร  จะรักษาอย่างไร  แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า  นอกจากการให้ยาแล้ว ยังควบคุมอาหาร  โดยเลือกให้กินอาหารอย่างเหมาะสมกับโรค 

      มุนไพรกับการรักษาโรค  มีการใช้มาแต่โบราณ ใช้เป็นทั้งอาหารเป็นทั้งยา  ชาวจีนโบราณรู้จักใช้เห็ดหลินจือ สายพันธ์สีดำรียกว่า เฮยจือ เอ๋าจือ  สรรพคุณ  บำรุงไต  และทางขับปัสสาวะ  และยังคงใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้

       ปัจจุบันได้มีการศึกษาโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยแพทย์จุฬาทดลองใช้เห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคไตวายเรื่อรัง โดยระบุอย่างเป็นทางการแล้วว่า สามารถฟื้นฟูการทำงานของไตได้จริง

 

ขอคำปรึกษา 096-890-3983

 

 
ข้อมูลประกอบอ้างอิง
 
http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-4.htmlแหล่งข้อมูล : www.dmsc.moph.go.th - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080325123511AAdxatq

http://www.bangkokpattayahospital.com/th/main.php?module=healthtips;sub=detail;id=64

http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=147ข้อเขียนโดย ศจ.พญ.ลีนา    องอาจยุทธ    สาขาวิชาวักกะวิทยา    ภาควิชาอายุรศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย